วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ณ หนังสือพิมพ์เดลินิว

การทำงานหนังสือพิมพ์เป็นอะไรที่ท้าทายมาก
จากประสบการณ์ส่วนตัวคือ ที่ร้านเปิดร้านถ่ายเอกสาร
จึงได้เห็นพัฒนาการของการทำเอกสารรูปแบบต่างๆมากมาย
พอวันนั้นได้มีโอกาสไปดูโรงพิมพ์ของหนังสือพิมพ์
แล้วรู้สึกตัวเลย ว่าเรายังเล็กนิดเดียวเท่านั้น ^^"
เทคโนโลยีช่วยคุณได้ทั้งหมดจริงๆ

แต่ในบางครั้ง มันกลับทำให้คิดว่า
"เทคโนโลยีเยอะไป จนคนจะเป็นหงอยกันไปหมด"

ตัวเราคิดว่า
เทคโนโลยียิ่งโตเท่าไหร่ ยิ่งสบายเท่านั้น ยิ่งทำให้คนเรานั้นไม่มีจิตใจมากยิ่งขึ้น ทำงานคล้ายหุ่นยนต์เข้าไปทุกวัน ทุกวันเลยจริงๆ


กระบวนการกว่าจะมาเป็นข่าว

  • นักข่าว การส่งข่าวนั้นสมัยนี้ทำได้โดยการส่งผ่านอินเตอร์เน็ต
  • หัวหน้า บ.ก. & หัวหน้าช่างภาพ
  • Photo Archive (ตกแต่งภาพ หรือ สร้างภาพ) ช่วยลดความแรงของข่าว
  • แผนกข่าว & re write ช่วยตรวจสอบข้อความคำพูด
จากกระบวนการที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เน็ตเวิร์กต่างๆมากมาย แต่ถ้าลองมองกลับไปสมัยก่อนดูสิ กว่าจะได้ข่าว กว่าจะส่งสารกันนั้น ต้องหนักพอสมควรเลยหล่ะ T_T

กว่าจะมาเป็นหนังสือพิมพ์ กว่าจะพิมได้ ต้องผ่านการทำ Plante ก่อน
สมัยก่อน ถ้าไม่มี ก็ต้องนั่งกัดฟิลม์ก่อนส่งเข้าเครื่องในการพิมพ์ออกมา
   ในการกัดฟิลม์แต่ละครั้งต้องใช้เวลาถึง 45 นาที และจะผลิตข่าวให้ร้อน สด ทันเวลาได้อย่างไร โรงงานที่พิมพ์ไม่ได้อยู่ทุกๆหัวเมื่อง แต่อยู่ที่ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยเท่านัน แต่ต้องส่งต่อไปยังทั่วประเทศ จะต้องมีการจัดการการขนส่งเป็นอย่างดี ต้องทำให้เวลากระชับมากที่สุด เพื่อให้ส่งถึงมือของลูกค้าได้ทันเวลา อีกด้วย

แต่ ตอนนี้ มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เรียกว่า CTP (Computer to Plante) เทคโนโลยีนี้สามารถสร้าง Plante ได้ภายใน 3 นาทีก็ว่าได้ ทำได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกมากๆ ช่วยประหยัดเวลา มากขึ้น สามารถกรองข่าวได้มากขึ้น เพิ่มการทำงาน เพิ่มระยะเวลาต่างๆได้มากมาย


เคยสงสัยกันไหม ทำไมถึงต้องแบ่งหนังสือพิมพ์เป็นส่วนๆ หลายๆเล่ม ส่วนหลักบ้าง บันเทิงบ้าง กีฬาบ้าง เปิดอ่านยากไหม ? ทำไมถึงต้องแบ่ง ?
     มันเป็นการตลาดชั้นยอดเลยหล่ะ ตอนแรกก็คิดไม่ถึง คิดเพียงแค่ว่า เปิดยากนะ แต่พอฟังแล้ว รู้สึกได้เลยว่ามันเป็นจิตวิทยา รวมกับการตลาดเล็กๆ เพราะถ้าทำเล่มเดียว จะแบ่งอ่านกันทั้งบ้านได้อย่างไร แม่อาจจะอ่านบันเทิง ลูกอ่านกีฬา พ่ออ่านทางด้านธุรกิจ นี่ก็เรียกได้ว่า ผูกขาดแล้ว เล่มเดียวครอบคลุมทั้งบ้าน ลูกค้าก็จะได้ไม่หนีไปไหน

การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญแค่ไหน ?
   การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก การรู้แต่สื่อออกมาไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าคุณมีความรู้ แต่ไม่สามารถแชร์ออกมาได้ เมื่อคุณเสียชีวิตไป ความรู้นั้นก็ตายไปกับคุณ ไม่ได้แบ่งไปให้ใคร และประเทศ หรือสิ่งต่างๆ จะพัฒนาต่อไปได้อย่างไร รวมถึงนักข่าว ถ้านักข่าวเข้าใจ แต่ไม่สามารถเขียนอธิบายออกมาได้ ผู้อ่านจะรู้ได้อย่างไร รวมไปถึง การสื่อสารที่ถูกต้อง สื่อออกมาและคนอ่านเข้าใจไปในทางที่ถูกต้อง ถือว่าถูกที่สุด "ทำดีแทบตาย แต่อธิบายไม่ได้ก็จบ"

ทำไมถึงต้องมีสินค้าในโกดัง มันทำรายได้จริงหรือ ?
   สินค้าในโกดังนั้น ไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับเราได้เลย แต่มันสามารถช่วยสร้างความสบายใจให้กับผู้บริหาร เพื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เกิดความผิดพลาดต่างๆ ทำให้สามารถหยิบออกมาใช้ได้ในทันที แต่ ถ้าการเก็บกักตุนสินค้า เกิดความผิดพลาดก็ทำให้เกิดผลกระทบได้ด้วย

Forecasting คืออะไร ?
    คือ การทำนายเหตุการณ์ในอนาคต เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น การคาดเดา คาดคะเน สิ่งนี้สามารถช่วยในการบริหาร ในการวางการตลาดต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งคนที่มองต้องอ่านเกมส์ให้ขาด เพื่อให้เอาชนะคู่แข่ง และอยู่รอดได้ อย่างประสบความสำเร็จ

สิ่งที่มีอยู่แล้วจับมาใช้เลยได้ไหม ? ไม่จำเป็นต้องเรียนหรอก เชื่อเขาไปเลยได้หรือเปล่า ?
  การที่มีอยู่แล้ว มีกฏต่างๆอยู่แล้ว มีรูปแบบอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องศึกษาจริงหรือ สิ่งนั้นคือสิ่งที่ผิด ถ้าหากคุณจะไม่เรียนอะไรเลย เพราะคุณจะรู้ได้อย่างไร ว่า กฏเหล่านั้นมาจากไหน จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร หรือจะนำมาประยุกต์ใช้กับงานจริงๆได้อย่างไร เราจำเป็นต้องเรียนก่อน เพื่อนำความรู้นั้นมาทำความเข้าใจ นำออกมาทำงานได้จริงๆ
   ในการทำงานต่างๆ ถ้ามีโมเดลอยู่แล้ว ก่อนทำงานจริง เราควรจะเข้าใจ โมเดลเหล่านั้นเสียก่อน

นิทานเรื่องมาลัยแคลี่
  วันหนึ่ง ณ สี่แยกไฟแดง คุณต้องการซื้อพวงมาลัย พวงมาลัยพวงนั้นราคา 50 บาท คุณจึงบอกคนขายพวงมาลัยว่า "หนุ่มน้อย พี่ขอไปก่อนนะ และเดียวขากลับจะมาจ่ายเงิน สัญญาว่าจะมาแน่นอน" และเมื่อคุณทำธุระเสร็จทุกอย่างแล้ว พอขากลับมาจ่ายเงิน คุณจ่ายเงินจำนวน 50 บาท พ่อหนุ่มน้อยคนนั้นกลับบอกคุณว่า "ไม่ได้ครับพี่ ตอนนี้พวงมาลัยราคา 80 บาทแล้ว" 

   นิทานเรื่องนี้ทำให้รู้ว่า  ไม่ว่าคุณจะถือเอง หรือจะให้คนขายถือ ก็สามารถเกิดค่า Cost ได้เช่นกัน


PDCA คุณรู้จักมันมากน้อยแค่ไหนกัน ?
   ช่วงชีวิตนี้ดีใจที่ได้รู้จักมัน แต่เสียใจที่ยังไม่สามารถทำอะไรกับมันได้มากนัก การตรวจสอบการแก้ไขนั้นควรทำในช่วงที่แข็งแรง กำลังดี ไม่ควรทำตอนที่มันพลาด หรือใกล้จะพังเสียแล้ว
   ลองมองในทางกลับกัน ถ้าคุณเป็นโรคหัวใจ คุณต้องทำการผ่าตัด ถ้าคุณเลือกได้ระหว่างผ่าตอนที่คุณแข็งแรง สามารถฟื้นตัวได้ง่าย กับผ่าตอนที่คุณใกล้จะแย่ หาทางรอดยาก นั้นคุณจะเลือกแบบไหน ใครๆก็ต้องเลือกตอนทีตัวเองกำลังแข็งแรง ฟื้นตัวง่าย กันทั้งนั้น เพราะถ้าเลือกตอนกำลังจะแย่ คุณอาจจะไม่สามารถกลับมามีชีวิตอีกเลยก็ได้
   ในด้านของธุรกิจ ก็เช่นกัน ถ้าธุรกิจกำลังดีอยู่ สามารถปรับปรุง พัฒนาได้ แต่ถ้ากำลังแย่ การเปลี่ยนแนวทางกระทันหัน ไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป มันจะทำให้ฟื้นตัวได้อย่าง

เทคโนโลยี เป็นเรื่องที่ฉลาดแล้วจริงๆหรือ ดีที่สุดแล้วจริงๆหรือ ?
  เทคโนโลยีนั้น เป็นส่วนที่ดีจริง แต่การใช้บางอย่างก็ไม่ดี สรุปคือ เทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่ดีทั้งหมด เพราะถ้าการใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และจะได้ข้อมูลต่างๆใหม่ๆมากมาย แต่ถ้าใช้อินเตอร์เน็ตในการค้าหาหนังโป๊ มันก็จะได้มากมายเช่นกัน เต็มไปด้วยสิ่งไม่ดีต่างๆมากมายเลย ซึ่งการใช้เทคโนโลยี ถ้าใช้ต้องเลือกอย่างฉลาด และเลือกใช้ให้เป็น ถูกต้องตามสิ่งที่มันควรจะเป็น

Life's like a box of chocolates. Doesn't last very long for fat people.

ตรรกะของมนุษย์ต่างกัน
   ลองมองในเรื่องของคนขับรถ และ การผ่าตัด
  • ถ้าขับรถมาด้วยความเร็วสูง ทางข้างหน้ามีคนข้ามถนนอยู่ 4 คน ถ้าไม่หักหลับ พวกเขาเหล่านั้นตายๆแน่ๆ แต่ถ้าหักหลบ จะต้องชนคนอีก 1 คน ที่ยืนอยู่ ควรจะเลือกทางไหน จะหักหลบไหม หรือจะเดินหน้าชนเต็มกำลังดี ?
  • ถ้ามองในเรื่องของการผ่าตัด มีคนหนึ่งคนที่ร่างกายสมบูรณ์ แต่ไม่สบาย กับคนอีก 4 คนที่มีปัญหาแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ไต ตับ ขา ถ้าเป็นคุณหมอ จะทำการผ่าจากคนที่สมบูรณ์เพื่อมาช่วยชีวิตคนอีก 4 คนนั้นหรือไม่ ?
ถ้าลองมองทั้ง 2 กรณีนี้มันช่างแตกต่างกันนัก
   ถ้าเรื่องของการขับรถ คงยอมเสียสละ 1 คน เพื่อช่วยอีก 4 คน
   แต่ถ้าในการผ่าตัด จะทำได้อย่างไร ถ้าต้องเสีย 1 ชีวิต มายื้ออีก 4 ชีวิตเอาไว้

บรรยากาศภายในโรงพิมพ์หนังสือพิมเดลินิว
 
ม้วน กระดาษหนึ่งม้วน ราคาแสนแพง แต่คุ้มค่าต่อการลงทุน

การยกม้วนกระดาษขึ้นไปนั้น จะต้องทำอย่างไร แต่สำหรับที่นี่
มันไม่ใช่เรื่องยากเลย

เอาหลักการง่ายๆ เข้ามาใช้ แต่การปฎิบัตินั้นต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง
เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเดินได้
แต่ถ้ารู้ว่าอะไรคืออะไร ก็สามารถเดินผ่านได้อย่างชิวๆ
หรือเล่นเป็นของเล่นได้อย่างสบายๆ
แต่ก็ไม่ควรจะเข้าไปเล่น อย่างนั้น >"<


กระบวนการในการผลิตนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย กว่าจะได้มาเป็นรูปเล่ม ต้องผ่านการคัดกรอง การพิมพ์ การจัดเล่ม การจัดส่ง เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยได้

กระบวนการทุกกระบวนการ สามารถนำเอาเทคโนโลยีเขามาใช้ได้ทั้งหมด
การใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดความรวดเร็ว และความแม้นจำ


แล้วงานของพี่ๆ พวกนี้เขาทำอะไรกันหล่ะ ถ้าต้องใช้เทคโนโลยีทั้งหมด
จะก่อให้เกิดคนตกงานเยอะแยะมากมายใช่ไหม ถ้าใช้เทคโนโลยีทั้งหมด
ตอบเลยว่าใช่ แต่ทาง ดร.พิสิฐ เหตระกูล บอกกับว่า
"ตอนนี้ค่าแรงยังสู้ไหว ถ้าเราใช้หมดหมดพวกเขาก็ตกงาน เราต้องช่วยพวกเขาด้วย แต่ถ้าค่าแรงขึ้น อะไรก็เกิดขึ้นได้"

สะท้อนให้เห็นถึง การเพิ่มค่าแรง
มองย้อนกลับไปดูว่า ถ้าค่าแรงเพิ่มขึ้น คนรับก็ยิ้ม แต่คนจ่ายอาจจะไม่มีกำลังในการจ่ายที่มากพอ ทำให้ต้องเลิกจ้างกันไปบ้าง แต่ถ้าบริษัทไหนสู้ไม่ไหว หรือต้องใช้แต่แรงงานคนอาจจะทำให้เกิดการขาดทุน และล้มละลายได้



กระบวนการต่างๆทั้งหมด ก่อให้เกิดเป็นหนังสือพิมพ์เล่มนี้
ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย



"สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ไม่ได้แข็งแกร่ง หรือแข็งแรงที่สุด
แต่ปรับตัวได้เก่งที่สุด"
โดย ดร.พิสิฐ เหตระกูล


ขอขอบพระคุณ ดร.พิสิฐ เหตระกูล มา ณ ที่นี้ด้วย
ขอบคุณที่ท่านได้แบ่งปันความรู้ หลักการต่างๆ ชวนให้มองโลกในมุมที่แตกต่างกันไป ช่วยให้คบคิดในเรื่องต่างๆ ขอบคุณจากใจจริงคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น